แอดเห็นว่า หลายๆ รพ. มีการจับเด็กทารกแรกเกิดมาสวมชุดไทยกันสนุกสนานมากนะครับ ซึ่งแอดเองก็รู้สึกดีกับการ #อนุรักษ์ชุดไทย นะครับ
แต่ที่แอดสงสัยก็คือว่า ผ้าที่นำมาตัดชุดไทยนี้มีสีสันลายพิมพ์ตัดไปมานี่ มีสีเข้มที่เรียกว่าต้องมีสารเคมีมากมายกว่าชุดเด็กอ่อนปกติน่ะครับ
คือแอดอยากทราบว่า ทาง รพ. ได้ตรวจเช็ครายการสารเคมีต้องห้ามบนผ้าที่นำมาตัดเป็นชุดสำหรับเด็กทารกหรือยังเอ่ย?? หรือนำผ้ามาตรฐานสารเคมีต้องห้ามของผู้ใหญ่มาตัดชุดเด็กแรกเกิดกันแน่?? (ถ้าทาง รพ. ตรวจสอบแน่ชัดแล้ว แอดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ)
คือ แอดไม่ได้ #โหนกระแส หรือ #สวนกระแส การสวมชุดไทยนะครับ แต่อยากให้ทาง รพ. คิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนตรงนี้ด้วย เนื่องจากว่าผิวหนังเด็กอ่อนนั้นบอบบางกว่าผู้ใหญ่มาก
ขนาดที่ว่ามาตรฐานความปลอดภัยทางสิ่งทอที่ค่อนข้างจะสบายๆ (เรียกว่าเคร่งครัดน้อยที่สุดในวงการสิ่งทอแล้วครับ) อย่าง Standard 100 by Oeko-tex นั้นยังแยกมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเด็กอ่อน (baby : class I) และสำหรับคนทั่วไปแยกกัน โดยที่ระบุค่าจำกัดการใช้งานสารต่างๆที่อยู่บนผ้าที่ต่างกันเลยนะครับ จากลิงก์นี้
ซึ่งจากมาตรฐานนั้นจะเห็นว่า เสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อนนั้นต้องจำกัดสารเคมีหลงเหลือในผ้าที่น้อยกว่าคนทั่วไปมากๆ ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก ฟอร์มาลิน ฯลฯ
ถ้าท่านตรวจสอบดีแล้ว แอดก็ขออภัยที่โพสต์บทความเสมือนดิสเครดิตนะครับ และแอดยินดีลบถ้ามีการนำ Certificate of analysis และ Certificate of fabric for enfants and babies จากสถาบันทดสอบสิ่งทอที่เป็น third party person อย่าง Intertek, SGS หรือของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอมาแสดงนะครับ
#ด้วยความเป็นห่วงเด็กทารกที่อาจจะได้รับสารพิษมากเกินขนาด
#ถ้าบทความนี้ไม่ถูกใจบุคลากรในโรงพยาบาลแอดก็ขออภัยด้วย
#แค่อยากรู้ว่าตรวจสอบถี่ถ้วนรึยัง
ปล. แอดต้องขออภัยสำหรับที่มาของภาพด้วยนะครับ ทั้งจากคุณแม่ของเด็กและจากรูปทาง รพ. หลายๆแหล่งนะครับ แต่แอดก็อยากให้เป็นกรณีศึกษาสำหรับการสวมเสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อนนะครับ ขอบคุณสำหรับรูปภาพด้วยนะครับ 🙏🏻
🙏🏻