ไหมชาฆ์ดงเนต์ (Chardonnet silk) เส้นใยระเบิดได้

 

29791317_1861037963934629_6819168494173511372_n.jpg

เมื่อคืนแอดได้ดูละครเรื่อง #คมแฝก แล้วเห็นการละเล่นแผลงๆของนายองอาจ ชาตินักรบ ที่เอาสบู่กลีเซอรีนมาทำปฏิกิริยากับกรดไนตริก แล้วได้เป็นระเบิดไนโตรกลีเซอรีนที่อันตรายมากๆ (เด็กๆทั้งหลายจ๋า มันอันตรายมากนะเออ อย่าคิดจะลองเล่นหากไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล 😅)

ดังนั้นวันนี้แอดจะมาเล่าถึง #แฟชั่นมรณะ ของเส้นใยประดิษฐ์ (Man made fibers) ตัวแรกในโลก ที่เป็น #เส้นใยระเบิดได้ จากกรดไนตริก ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า #สวยระเบิดระเบ้อ มาให้ฟังกันนะครับ

สมัยก่อนเนี่ยเส้นใยไหม (silk) จัดว่าเป็นเส้นใยที่มีราคาแพงมากและหายากมาก (จนสมัยนี้ก็ยังแพงอยู่😂) เนี่ย

โดยแนวคิดที่ว่าปกติแล้วไหมเนี่ยจะกินใบหม่อน (Mulberry leaf) นั้นเป็นอาหาร จึงมีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งมีความคิดว่าในต้นหม่อนนั้นจะต้องมี “วัตถุดิบของสารไหม” แน่ๆเลยล่ะ

กระทาชายชาวฝรั่งเศสนายหนึ่งซึ่งมีนามว่า Count Hilaire de Chardonnet (โกเอิงต์ ติลแลฆ์ เดอ ชาฆ์ดงเนต์) ในปี 1894 ได้ลองเอาต้นหม่อนแห้งมาทำปฏิกิริยากับกรดไนตริก (Nitric acid) โดยที่ใช้กรดกำมะถัน (Sulfuric acid) เป็นตัวเร่ง ซึ่งภาษาทางเคมีจะเรียกว่า “Nitration reaction” นะครับ

จนได้เป็นวัสดุที่เป็นส่วนผสมของ cellulose nitrate ปนมาจนทำให้เกิดการทำละลายเป็นของเหลวได้ แล้วตั้งชื่อว่าเป็น “ไหมชาฆ์ดงเนต์” (Chardonnet silk) ออกมา

ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี 1846 ก็ได้มีการค้นพบ Cellulose nitrate จากการทำ nitration บนเศษฝ้ายโดยนาย Louis Menard โดยที่รู้จักกันดีในนามของ #ฝ้ายระเบิดดินปืน (Gun cotton) เป็นไงล่ะ ชื่อดูมีความ #น่าระทึก แค่ไหน!!

โดยที่ตอนนั้นเค้านิยมเอามาทำฟิล์มฉายหนังมากกว่าแหละ แถมเป็นฟิล์มฉายหนังที่ไวไฟมากซะด้วยสิ 😱

แต่นายชาฆ์ดงเนต์นี้ก็ค้นพบโดยบังเอิญ โดยการนำวัตถุดิบตัวนี้ในรูปของฟิล์มฉายหนังมาละลายในอีเธอร์ (ethers) แล้วลืมปล่อยทิ้งไว้จนเกือบแห้งจ้า

ปรากฏว่าได้สารเหนียวติดก้นภาชนะ ด้วยความซนนั้นก็จัดการเขี่ยเอาก้อนเหนียวนั้นขึ้นมาแล้วดึงยืดขึ้นมาเป็นเส้น ปรากฏว่าได้เป็นเส้นใยที่มีความเงางามสวยงามประดุจไหมกันเลยเชียวแหละ 😁😁

แต่คำว่าวัตถุดิบจากฝ้ายมันไม่ขลังไง เพราะมันถูกและเป็นอะไรที่ไม่ไฮเอนด์ในสังคมสมัยนั้น นายชาฆ์ดงเนต์ก็เลยลองเปลี่ยนจากฝ้ายมาเป็นต้นหม่อนแห้งที่เป็นแหล่งอาหารของไหม ผลักดันความไฮโซจากความเป็นอาหารของไหม มาทดลองแทน แถมปรากฏว่าสำเร็จในเวลาถึง 6 ปีด้วยสิ

ผ่ามๆๆ!! นานจัง ถ้าเป็นเราๆก็คงเขวี้ยงทิ้งและไม่สนใจอะไรอีก 😂😂

แล้วพอได้เส้นใยก็ตั้งชื่อตามตัวเองออกมาเป็น “Chardonnet silk” ออกมาขาย พร้อมกับทอเป็นผ้าที่แสนสวยงาม แต่ระเบิดง่ายตามสันดานของ cellulose nitrate นั่นแหละ

ชุดที่ทอด้วย Chardonnet silk นั้นมีความสวยงามหรูหราไฮโซตามประสาผ้าไหม แต่เร่าร้อนด้วยสันดานของมันนี่แหละ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟคลอกผู้สวมใส่ทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตไปหลายราย

ซึ่งใช่ว่าผู้คนในสมัยนั้นไม่รู้ถึงอันตรายนะครับ แต่แค่เพราะ #ใส่เพราะอยากสวย #ถึงตายก็ไม่ว่ากัน อะไรงี้ 😂

ไอ้อุบัติเหตุที่เกิดไฟไหม้จากกระโปรงคริโนไลน์ที่พาคนไปตายถึง 200 กว่าคนก็ไอ้ชุดที่ทอจาก Chardonnet silk นี่แหละ ดังที่แอดเคยเล่าในลิงก์นี้นะครับ

https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1587473341291094/?type=3

สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบบทความจากลิงก์นี้ด้วยนะครับ

https://www.collectorsweekly.com/articles/what-not-to-wear/

#ไหมนี้ที่รอคอย
#ถ้ารู้ว่าเป็นไหมก็ใส่ไม่ถอย
#ความสวยงามอันน่าสะพรึง
#แฟชั่นมรณะเดอะซีรีส์

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s