วิทยาศาสตร์การเกิดคราบชาลอยหน้า

 

30714466_1874851025886656_3708756474013417472_n.jpg

วันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์กันแล้วนะครับ ตอนนี้หลายๆคนอาจจะนั่งทอดถอนหายใจนั่งจิบชาอย่างเหนื่อยหน่ายเมื่อคิดถึงงานที่จะถาโถมเข้ามาในวันเปิดงานวันแรกกันซะละ 🤣🤣

พอหันไปจะหยิบถ้วยชามาดื่ม อ้าวว!! มีคราบอะรูมิไรต์ลอยเป็นแผงหน้าน้ำชากันอย่างน่าสยดสยองกันเลยทีเดียว จะดื่มต่อก็รู้สึกว่าเหมือนจะอันตรายมั้ยนี่ 😱

ดังนั้นวันนี้แอดก็จะมาเล่าถึง #เกร็ดความรู้ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ ถึง #วิทยาศาสตร์การเกิดคราบชาลอยหน้า ให้ฟังกันนะครับ 😁

ซึ่งคราบที่ลอยหน้าชานั้นภาษาฝรั่งจะเรียกว่า “Tea scum” นะครับ โดยแต่เดิมนักวิทยาศาสตร์นั้นคิดว่าเป็น #คราบไขมัน ที่หลุดออกมาจากไขเคลือบใบชาตามธรรมชาตินั้นหลอมละละลายออกมาตอนโดนน้ำร้อน แล้วพอปล่อยจนเย็นจึงขึ้นเป็นคราบไขมันแข็งลอยหน้าน้ำชาไป

แต่เนื่องด้วยความขี้สงสัยของพวกฝรั่งเนี่ย ในปี 1994 ก็มีนักเคมีจาก Imperial College แห่งลอนดอน (จากตำรา The Science of Cooking : Peter Barham) ก็ทำการลองต้มใบชาในน้ำร้อนในสภาวะที่แตกต่างกันแล้วนำมาวิเคราะห์ ก็พบว่าไอ้แผ่นคราบที่ลอยหน้าน้ำชานั้นมีองค์ประกอบหลักก็คือ #หินปูน น่อว์!!

โดยพบว่า scum ที่ตรวจสอบนั้นจะมีหินปูน (Calcium carbonate : CaCO₃) อย่างน้อยถึง 15% กันเลยทีเดียว และมีบางส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากใบชาที่มาก่อเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับไอออนของแคลเซียม เช่น พวกแทนนิน และสารประกอบพอลิฟินอลลิกอีกหลายชนิด

ซึ่งการเกิดหินปูนนั้นก็เกิดจากการที่แคลเซียมไออนที่ละลายในน้ำชาที่เป็นสภาพกรดอ่อนนั้นสัมผัสกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ในอากาศแล้วเกิดเป็นแผงบางๆลอยหน้าและคอยดักจับสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำชาเข้ามาเป็นพวกด้วย 😱

เพราะเค้าสังเกตว่าหากต้มชาด้วยน้ำอ่อน (soft water) หรือเอามาชงเป็นชามะนาวนั้นจะไม่เกิด scum ขึ้นมาเลย เนื่องจากว่าน้ำอ่อนนั้นจะไม่มีแคลเซียมละลายอยู่/ หรือกรดในน้ำมะนาวนั้นจะสามารถละลาย scum ได้ดีจนไม่เกิดคราบชาขึ้นมาด้วย

แต่ถ้าถามว่า อ้าว!! แล้วน้ำชาที่ขึ้นคราบนั้นจะสามารถทานต่อได้มั้ย?? เป็นอันตรายมั้ย??

คำตอบก็คือ #ทานได้สบายหายห่วง ครับ เนื่องจากว่าพอเราดื่มลงไป หินปูนที่ลอยหน้านั้นก็จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายไปเป็นแคลเซียมธรรมดานี่แหละครับ ไม่ต้องกลัวเป็นนิ่วกันนะเออ เพราะว่าปกตินิ่วนั้นมักจะเกิดจากแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) มากกว่า ไม่ได้เกิดจากหินปูนโดยตรงนะครับ

เพราะถ้าจะกลัวนิ่วแล้วควรระมัดระวังการทานผักที่มีออกซาเลตสูงๆ มากเกินไปต่างหากล่ะ ตัวอย่างก็เช่น ยอดใบมันสำปะหลัง ใบชะพลู ผักแพ้ว หน่อไม้ ผักโขม หัวผักกาด (หัวไชเท้า) ใบชา (ที่หมายถึงเคี้ยวเป็นใบๆลงไปนะครับ ไม่ใช่น้ำชา) โกโก้ คื่นช่าย คะน้า มะเขือ แครอท บอน เผือก องุ่นแดง สตรอเบอรี่ ผักกระโดน ผักติ้ว ผักเม็ก ผักหวานป่า เป็นต้น

แต่อย่ากังวลมากนัก ถ้าเราทานในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่ได้ทำให้เกิดนิ่วอะไรปานนั้น 😁😜

ดังนั้นทำให้หลายๆครั้งที่เวลาล้างคราบชาที่เกาะอยู่บนถ้วยชานั้น จึงไม่สามารถที่จะล้างออกด้วยน้ำยาล้างจานธรรมดาได้ แต่พอกลั้วด้วยน้ำส้มสายชูเจือจางนั้นคราบชานั้นก็สามารถหลุดออกเองได้โดยง่ายน่ะครับ

สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบบทความจากลิงก์นี้ด้วยนะครับ

https://www.flickr.com/photos/dougstevenson/4626152453

#ใต้ความลอยหน้าลอยตาของน้ำชา
#คราบเกาะอยู่บนหน้า
#No_Bukakke 😜😜

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s