วิทยาศาสตร์ของครั่ง

30742907_1874308769274215_9063000951614341120_n.jpg
หลายๆคนอาจจะสงสัยตอนที่เห็นนายฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ในเรื่อง #บุพเพสันนิวาสตอนที่ส่งจดหมายลับที่ส่งไปให้นายพลเดส์ฟาร์ฌ (General Desfarges) นั้นมีการปิดผนึกจดหมายด้วย “ครั่ง” (ไม่ใช่ “คลั่ง” นะเออ ออเจ้า) 🤣🤣

ดังนั้นวันนี้แอดก็จะมาเล่าถึง #เกร็ดความรู้ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ ถึงเรื่อง #วิทยาศาสตร์ของครั่ง ให้ฟังกันนะครับ 😁

ครั่ง (Lac) นั้นจัดว่าเป็นของที่ได้จากตัวครั่งที่เป็นแมลงจำพวกเพลี้ยที่อยู่ในวงศ์ Kerridae นะครับ

โดยที่ในสมัยโบราณนั้นก็มีการใช้ “ครั่ง” มาหยอดจดหมายปิดผนึก โดยที่นำมาลนไฟจนละลาย แล้วหยอดปิดผนึกจดหมายหรือประทับตราในจดหมายราชการเท่านั้น

เปรียบเหมือนเป็นสัญลักษณ์เอกสารลับที่ใครจะเปิดไม่ได้จนถึงมือผู้รับนั่นเอง ดังนั้นถ้ามีรอยแตกออกก็แสดงว่าจดหมายนั้น #ถูกเปิดออกมา แล้วอย่างแน่นอน 😱

โดยที่นอกจากยางครั่งที่ใช้ปิดผนึกแล้วนั้น ครั่งยังสามารถให้สีย้อมที่มีสีแดงแบบที่เรียกว่า “สีครั่ง” (Lac dyes) ด้วย ซึ่งสารให้สีสำคัญที่มีอยู่ในครั่งนั้นก็คือ “กรดแลคคาอิก” (Laccaic acid) ที่เป็นสีย้อมที่อยู่ในตระกูลหมู่ให้สี (Chromogen) เป็นแอนธราควิโนน (Anthraquinone) ด้วย

และนอกจากนั้นยังมีสารสีเหลืองที่ละลายในอัลกอฮอล์ เรียกว่า Erythrolaccin ซึ่งประกอบด้วยสาร 2 ชนิด คือ deoxyerythrolaccin (I) และ isoerythrolaccin (II) ผสมอยู่ด้วย

โดยที่ Laccaic acid เป็นสารประกอบกลุ่มแอนทราควิโนนซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างกันไม่น้อยกว่า 4 ชนิด คือ laccaic acid A, B, C และ D แต่ที่พบเป็นองค์ประกอบหลักของสีครั่ง คือ laccaic acid A และ B เท่านั้น ซึ่งเจ้า Laccaic acid ละลายได้ดีในน้ำและน้ำด่างด้วย

จึงทำให้สามารถใช้เป็นสีย้อมธรรมชาติย้อมบนเส้นใยไหมและขนสัตว์ในสภาวะกรดได้ดี โดยที่มีความคงทนต่อการซักล้าง (Washing fastness), ความคงทนต่อการขัดถู (Rubbing fastness) และความคงทนต่อแสง (Light fastness) ที่ค่อนข้างต่ำด้วย

ดังนั้นหากต้องการเพิ่มความคงทนของสีที่ได้จากครั่งนั้น จึงควรทำการมอร์แดนต์ (mordanting) ด้วยเกลือของโลหะที่เหมาะสม เช่น สารส้ม ก็จะสามารถที่จะทำให้มีความคงทนที่ดีขึ้น และสามารถให้สีแดงตั้งแต่แดงสดใสยันสีเปลือกมังคุดด้วยนะครับ

https://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=57

นอกจากนั้นยางของครั่งที่ใช้ปิดผนึกจดหมายแล้ว ก็ยังใช้เป็นสารให้ความฝืดกับไวโอลินเพื่อทำให้สีแล้วเกิดเสียงออกมา เหมือนกับการใช้ยางสนบนเครื่องดนตรีไทยด้วย

แม้ว่าในปัจจุบันการใช้งานครั่งเป็นสีย้อมนั้นมีการใช้งานไม่มากนัก แต่ก็เรียกว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับสีธรรมชาติจากครั่งในไทยกันมากทีเดียวเพื่อเพิ่มมูลค่าของผ้าที่ย้อมสีธรรมชาติและเครื่องสำอางให้สีให้ดูโดดเด่นและมีความคงทนมากขึ้นด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นลิงก์

สีครั่งในเครื่องสำอาง
https://info.rdi.ku.ac.th/ThailandResearch/?itemID=327746

สีครั่งในการย้อมผ้า
http://newgen.trf.or.th/?page_id=451

การศึกษามอร์แดนต์ในการย้อมครั่ง
https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/pdf/PMP13.pdf

การวิเคราะห์หาส่วนประกอบทางเคมีของสีในครั่ง
http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/6277/2/Fulltext.pdf

#ดูละครย้อนดูตัว
#อะไรเอ่ยหยอดแล้วกดเซ็ตให้อยู่ตัว
#ครั่งไงจะอะไรเล่า

ปล. แอดว่าเรื่องมันล้าสมัยไปละครับจากการที่ละครอวสานไปครึ่งสัปดาห์แล้ว แต่ด้วยความที่แอดว่าเรื่องครั่งเป็นเรื่องที่ผูกพันกับคนไทยมากทีเดียว แถมแอดยังติดภาระกิจด้วยก็เลยมาเล่าช้าหน่อยนะครับ ต้องขออภัย ณ จุดนี้ด้วย 😅

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s