ฟิสิกส์การตำเครื่องปรุงสดด้วยครก 

 

29542596_1854552127916546_2311732712188273807_n.jpg

เมื่อคืนตอนที่แอดเตือนแม่หญิงการะเกดตอนตำเครื่องปรุงสดทำหมูโสร่งนั้น หาได้เป็น #การแซะ นะขอรับ 😁😁 แค่อยากเตือนว่าการตำกระทุ้งแรงๆตรงกลางครกนั้นเป็นเรื่องที่ #เปลืองแรง #เปลืองเวลาเท่านั้นเอง 🤣🤣

https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/posts/1854111591293933

อันที่จริงแอดก็เคยเขียนเรื่อง #ฟิสิกส์ของการตำและบดเครื่องแกง เปรียบเทียบกันระหว่างครกกับเครื่องปั่นด้วยนะครับ จากลิงก์นี้

https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1568197883218640/?type=3

แต่วันนี้แอดจะมาโฟกัส #การตำเครื่องปรุงสดด้วยครก กันดีกว่าเนอะ 😁😁

ปกติแล้วการตำเครื่องปรุงสดนั้นเป็นการออกแรงอัด (compressive force) และแรงเฉือน (shear force) ร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดความเค้น (stress) ทั้งสองรูปแบบเลยนะครับ

โดยทิศทางมุมให้แรง (angle) นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความแตกต่างของ “แรงเค้นเฉือน” (shear stress) และ “แรงเค้นอัด” (compressive stress) น่ะครับ 😁😁

โดยที่มุมตั้งฉาก (90 องศา : Perpendicular forces) นั้นจะทำให้เกิด “แรงเค้นอัด” เป็นหลัก และมุมที่ขนาน (0 องศา : Parallel forces) นั้นจะทำให้เกิด “แรงเค้นเฉือน” เป็นหลักเช่นกัน 😁😁

แต่วัสดุเครื่องปรุงสดนั้น “ไม่มีความเป็น elastic ตามกฏของ hook” (non-hookian matter) เท่าไร ดังนั้นการใส่ “แรงอัด” ลงไปอย่างเดียวในเงื่อนไขของ#ดุ้นสากที่มีขนาดเล็กกว่าปากครก จึงทำให้การตำนั้นไม่แหลก และกระเด็นออกข้างแทน

ซึ่งก็แน่นอนล่ะว่าแรงตำของท่านนั้นก็ต้อง #ถูกแบ่งใช้ ไปในการกระเด็นด้วย จึงทำให้เกิดการเปลืองแรงไป เพราะเป้าหมายของการตำที่ถูกต้องนั้น คือต้องการให้ “แหลก” แต่มิใช่ “กระเด็น” หนา 😂

ในขณะที่การทำให้เกิด “แรงเฉือน” อย่างเดียวนั้น มันเป็นมุมที่ทำให้เกิดการบดนั้นเลื่อนเปื้อนออกสู่ด้านข้างตลอด แม้ว่าจะทำให้ “แหลกไม่กระเด็น” ได้ แต่ก็คงไม่สะดวกต่อการควบคุมพื้นที่ในการบดเป็นแน่แท้น่ะครับ

ดังนั้นการตำเข้าข้าง #แซะซ้ายแซะขวา จากข้างครกเข้านั้นจึงเป็นมุมโค้งที่ให้ผลดีที่สุดในการตำน่ะครับ ซึ่งมุมในการให้แรง (แปลง่ายๆคือ มุมสากกระทุ้งนั้นแหละ) ของการตำเพื่อมิให้กระเด็นนั้นจึงมิควรเป็นมุมตั้งฉากนะออเจ้า 😂

โดยมากมุมที่จะทำให้เกิด action ทั้งสองแบบให้เกิดได้สมบูรณ์แบบที่สุด นั้นจึงเป็นมุมทะแยงที่ 45 องศาพอดี ตาม “ความลาดโค้ง” ของก้นครกและปากปลายสาก แต่จะเบี่ยงเบนไปก็ไม่ว่ากันนะครับ จะ 30-60 องศาก็ได้นะเออ 🤣

ดังนั้นการตำพริกแกงนั้นจึงควรตำจากด้านข้างครกแล้วบดขยี้เอา มิใช่กระทุ้งลงไปทั้งมุมตั้งฉากและมุมทะแยง (เพราะขืนกระทุ้งข้างครกบ่อยๆ ก็คงต้องเปลี่ยนครกในเร็ววันเป็นแน่แท้ 😂) เพื่อลดการกระเด็นและได้ประสิทธิผลของการตำมากที่สุดด้วย

สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบบทความถึงทิศทางการตำที่น่าจะเห็นชัดที่สุดจากลิงก์นี้ด้วยนะครับ (เหล่าออท่านจงพิจารณามุมที่ควรตำที่สุดจากครกนี้ด้วยนะเออ 😁😁)

https://pantip.com/topic/35604763

#ดูละครอย่างไรให้ตำน้ำพริกได้เก่ง
#ฟิสิกส์การตำ
#บุพเพสันนิวาส

ใส่ความเห็น